สาว ๆ ที่วางแผนจะมีลูกในอนาคตแต่ว่ายังไม่พร้อม ผู้ที่มีภาวะมีบุตรยาก หรือผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวแต่ต้องการมีบุตร ทีมแอดมินจะพามาทำความรู้จัก การฝากไข่คืออะไร ทำไมต้องฝากไข่ ฝากไข่เพื่ออะไร ขั้นตอนการฝากไข่เป็นอย่างไร และต้องปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อจะทำการฝากไข่ เพื่อสอบถามความต้องการของตัวเอง และเตรียมพร้อมก่อนตัดสินใจ
การฝากไข่คืออะไร
การฝากไข่ คือ การการนำเซลล์ไข่ออกมาเพื่อการเก็บรักษาเอาไว้เพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพตามเวลา โดยวิธีการแข่แข็งไข่ ( egg freezing หรือ oocyte cryopreservation) นำเซลล์ไข่ไปแช่แข็งในสารไนโตรเจนเหลว สามารถทำได้ในคุณผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ แนะนำให้ทำก่อนอายุ 35 ปี เพื่อโอกาสได้ไข่ที่มีปริมาณมากพอและมีคุณภาพที่ดี
การฝากไข่คืออะไร
การฝากไข่ คือ การนำเซลล์ไข่ออกมาเก็บรักษา เพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพตามกาลเวลา เพราะเมื่ออายุมากขึ้น เซลล์ไข่ก็จะเสื่อมลงเรื่อย ๆ จนไม่สามารถทำการตกไข่ ส่งผลให้มีบุตรยาก หรือไม่สามารถมีบุตรได้ ด้วยวิธีการเก็บไข่ผู้หญิง คือ การแช่แข็งไข่ในสารไนโตรเจนเหลว (Egg freezing / Oocyte cryopreservation)
ฝากไข่เพื่ออะไร
การฝากไข่เป็นการนำไข่ไปแช่แข็ง เพื่อหยุดอายุเซลล์ของไข่ไม่ให้เสื่อมสภาพ เพื่อรักษาไข่ให้มีสภาพสมบูรณ์พร้อมใช้เสมอ
ฝากไข่อายุเท่าไรดี
การฝากไข่ สามารถทำได้ในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ แต่แนะนำให้ฝากไข่ในช่วงอายุ 25 – 35 ปี เนื่องจากร่างกายยังแข็งแรง มีโอกาสที่จะได้ไข่ที่มีคุณภาพดี และอาจได้ในปริมาณมาก ซึ่งผลงานวิจัยพบว่าผู้หญิงส่วนใหญ่หลังจากอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวนไข่และคุณภาพไข่ลดลงเรื่อย ๆ หากต้องการฝากไข่ อายุ 40 ก็อาจสามารถทำได้ แต่ควรให้แพทย์ทำการตรวจสุขภาพ เพื่อทำการวินิจฉัยว่าสามารถทำได้หรือไม่ ทำแล้วมีโอกาสได้ผลมากหรือน้อย และจะมีผลข้างเคียงต่อสุขภาพหรือไม่ แต่ไม่ควรฝากไข่เมื่ออายุเกิน 45 ปี เพราะอาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติในเด็ก หรือเสี่ยงต่อการที่เด็กในครรภ์มีภาวะโครโมโซมผิดปกติ หรือ ภาวะดาวน์ซินโดรม (Down syndrome)
ขั้นตอนการฝากไข่
- ฉีดยากระตุ้นไข่ โดยแพทย์จะให้ยากระตุ้นในปริมาณที่เหมาะสมในแต่ละเคส แล้วให้ทำการฉีดยาบริเวณหน้าท้องด้วยตนเอง เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของไข่ ประมาณ 8 -10 วัน
- ติดตามผลการกระตุ้นไข่ ด้วยการอัลตราซาวด์ ประมาณ 3 – 4 ครั้ง เพื่อดูการเจริญเติบโตของไข่
- ฉีดยาเหนี่ยวนำการตกไข่ เมื่อไข่เติบโตได้ขนาดที่เหมาะสม (18 มิลลิเมตรขึ้นไป) แพทย์จะให้ยาเหนี่ยวนำให้ไข่ตก และเก็บไข่หลังฉีดยาประมาณ 36 ชั่วโมง
- เก็บไข่ แพทย์จะทำการอัลตราซาวด์เพื่อระบุตำแหน่งไข่ แล้วใช้ยาระงับความรู้สึกภายใต้การดูแลของวิสัญญีแพทย์ จากนั้นจึงใช้เข็มเจาะเข้าไปในรังไข่ เพื่อดูดเซลล์ไข่ออกมา
การแช่แข็งไข่ทำอย่างไร
แพทย์จะนำเซลล์ไข่ที่สมบูรณ์ไปแช่แข็งในไนโตรเจนเหลวที่อุณหภูมิ -196 องศาเซลเซียส เพื่อให้เซลล์ไข่อยู่ในสภาพที่เหมาะสมอยู่เสมอ ซึ่งทุกขั้นตอนจะอยู่ภายใต้การดูแลโดยผู้ชำนาญการเฉพาะทาง
การเตรียมตัวสำหรับวันเก็บไข่ต้องทำอย่างไรบ้าง
- งดน้ำและอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมงก่อนทำการเก็บไข่
- งดฉีดน้ำหอม เพื่อไม่ให้รบกวนเซลล์ไข่
- งดการตกแต่งสีเล็บมือ เล็บเท้า และงดการใส่คอนแทคเลนส์ เพื่อใช้ประเมินร่างกายขณะให้ยาระงับความรู้สึก
- ควรไปให้ตรงเวลานัดหมาย เพราะมีผลต่อระยะเวลาการเก็บไข่
หลังการเก็บไข่ ควรปฏิบัติตัวอย่างไร
- หลังจากผ่านการเก็บไข่ จะมีอาการปวดท้องน้อยคล้ายกับการปวดประจำเดือน และอาจมีเลือดออกทางช่องคลอดเล็กน้อย ควรทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
- งดการออกกำลังกายหักโหม และห้ามยกของหนัก หลังจากมีการเก็บไข่ 1 สัปดาห์
- หลีกเลี่ยงการเดินทางกลับเพียงลำพัง หรืองดการขับรถด้วยตนเอง ควรมีผู้ดูแลมาด้วยอย่างน้อย 1 คน หรือมีผู้อื่นคอยขับรถให้
- งดการมีเพศสัมพันธ์อย่างน้อย 1 สัปดาห์
- หมั่นสังเกตอาการตนเองหลังจากเก็บไข่ หากมีอาการผิดปกติ เช่น ปวดท้องมาก หรือมีอาการท้องบวม ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
วิธีการนำไข่แช่แข็งมาใช้
เมื่อผู้ที่ฝากไข่พร้อมมีบุตร แพทย์จะนำไข่ที่แช่แข็งไว้ไปละลาย เพื่อทำการผสมกับอสุจิด้วยวิธีการ ICSI หรือ IVF เพื่อให้ได้เป็นตัวอ่อน จากนั้นทำการย้ายกลับเข้าโพรงมดลูกเพื่อรอการฝังตัวในการตั้งครรภ์ต่อไป โดยทุกขั้นตอนจะอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิด เนื่องจากกระบวนการเก็บไข่จะมีการใช้ปริมาณยา รวมไปถึงการดูแลผู้เก็บไข่ในแต่ละรายแตกต่างกันไป