อัลลินา เดย์ Bangkok Thailand
ความรู้ ไลฟ์สไตล์

ฟรีแลนซ์และอาชีพอิสระควรรู้ สิทธิ์ผู้ประกันตนมาตรา 40 คุ้มครองอะไรบ้าง 

สำหรับผู้ประกอบอาชีพอิสระ ผู้ประกอบกิจการ และฟรีแลนซ์ ที่เป็นแรงงานนอกระบบ ต่างต้องแบกรับกับความเสี่ยงทางการเงิน หากเกิดโชคร้ายเจ็บป่วยไม่สบาย หรือเกิดอุบัติเหตุไม่คาดฝันขึ้นมา ค่าใช้จ่ายในการรักษา รวมไปถึงการขาดรายได้ในขณะที่ต้องพักรักษาตัว ย่อมส่งผลกระทบต่อรายได้ที่ไม่สามารถคำนวณได้ว่ามากน้อยแค่ไหน ด้วยเหตุนี้ทางภาครัฐจึงได้มีมาตราการ ประกันสังคม สำหรับกลุ่มคนแรงงานนอกระบบ และฟรีแลนซ์ต่าง ๆ เพื่อเป็นการช่วยเหลือแบ่งเบาภาระให้กับผู้ประกอบอาชีพอิสระทุกคน 

ประกันสังคมคืออะไร 

ประกันสังคม คือ การออมเงินจากส่วนหนึ่งของเงินเดือนหรือรายได้จากแหล่งอื่น ๆ เพื่อใช้สำหรับเป็นหลักประกันชีวิต ในขณะที่ผู้ประกันตน คือ ผู้จ่ายเงินสมทบประกันสังคมทุก ๆ เดือน นั่นเอง ซึ่งประกันสังคมมี 3 รูปแบบด้วยกัน คือ ประกันสังคมมาตรา 33 , มาตรา 39 และ มาตรา 40 ซึ่งรูปแบบสุดท้ายนี้เองที่เราจะกล่าวถึงในบทความนี้กันว่าน่าสนใจอย่างไร ทำไมผู้ประกอบการและฟรีแลนซ์ทุกคนควรทำ 

ประกันสังคมาตรา 40 คือใคร และต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง 

ประกันสังคม มาตรา 40 คือ ผู้ประกันตนที่เป็นบุคคลทั่วไป ทำงานอิสระ ไม่มีรายได้ประจำ ไม่มีนายจ้าง หรือสวัสดิการอื่น ๆ เหมือนพนักงานทั่วไป และไม่ได้เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 เช่น ฟรีแลนซ์ ค้าขาย เกษตรกร เป็นต้น ได้ร่วมสมทบเงินประกันตนด้วยความสมัครใจ โดยสามารถเลือกจ่ายเงินสมทบประกันสังคมได้ 3 รูปแบบ ได้แก่ 

  1. จ่ายสมทบ 70 บาท / เดือน
  2. จ่ายสมทบ 100 บาท / เดือน 
  3. จ่ายสมทบ 300 บาท / เดือน

ใครบ้างที่มีคุณสมบัติของผู้ประกันตนมาตรา 40 

  1. มีสัญชาติไทย
  2. อายุ 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 65 ปี
  3. ผู้พิการทางกายที่สามารถรับรู้สิทธิของตน
  4. กรณีผู้ไม่มีสัญชาติไทย แตถือบัตรประจำตัวที่มีเลขหลักแรกเป็น 0 , 6 หรือ 7

ผู้ประกันตน มาตรา 40 ได้รับความคุ้มครองอะไรบ้าง 

หลังจากการจ่ายเงินสมทบประกันสังคมทุก ๆ เดือน ผู้ประกันตนมาตรา 40 จะได้สิทธิ์ตามรูปแบบที่เลือกไว้ ดังนี้ 

สิทธิประโยชน์ของผู้ประกันสังคมมาตรา 40  จ่ายสมทบ 70 บาท 

ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบเดือนละ 70 บาท รัฐจ่ายสมทบ 30 บาท รวมเป็นเงินสมทบ 100 บาท / เดือน 

  1. เงินทดแทนเมื่อเจ็บป่วย 300 บาท หากต้องหยุดงานเนื่องจากคำสั่งแพทย์ ตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป แต่ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล และมีใบรับรองแพทย์ จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้วันละ 200 บาท แต่หากหยุดไม่เกิน 2 วัน จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ครั้งละ 50 บาท (ปีละไม่เกิน 3 ครั้ง) 
  2. เงินทดแทนเมื่อทุพพลภาพ 500 – 1,000 บาท 
  3. เงินช่วยค่าทำศพ 25,000 บาท และ เงินสมทบเพิ่ม 8,000 บาท (กรณีจ่ายเงินสมทบครบ 60 เดือน) 

สิทธิประโยชน์ของผู้ประกันสังคมมาตรา 40  จ่ายสมทบ 100 บาท 

ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ 100 บาท รัฐจ่ายสมทบ 50 บาท รวมเป็นเงินสมทบ 150 บาท / เดือน 

  1. เงินทดแทนเมื่อเจ็บป่วย 300 บาท หากต้องหยุดงานเนื่องจากคำสั่งแพทย์ ตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป แต่ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล และมีใบรับรองแพทย์ จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้วันละ 200 บาท แต่หากหยุดไม่เกิน 2 วัน จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ครั้งละ 50 บาท (ปีละไม่เกิน 3 ครั้ง) 
  2. เงินทดแทนเมื่อทุพพลภาพ 500 – 1,000 บาท 
  3. เงินช่วยค่าทำศพ 25,000 บาท และ เงินสมทบเพิ่ม 8,000 บาท (กรณีจ่ายเงินสมทบครบ 60 เดือน) 
  4. เงินบำเหน็จชราภาพ สำหรับผู้ที่จ่ายสมทบครบ 180 เดือน และจะได้รับเมื่ออายุครบ 60 ปี 

สิทธิประโยชน์ของผู้ประกันสังคมมาตรา 40  จ่ายสมทบ 300 บาท 

ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ 300 บาท รัฐจ่ายสมทบ 150 บาท รวมเป็นเงินสมทบ 450 บาท / เดือน เป็นรูปแบบที่เพิ่งเพิ่มเข้ามาใหม่ โดยเพิ่มสิทธิประโยชน์ของประกันสังคมให้มีความใกล้เคียงกับระบบแรงงานประจำ ทำให้ได้รับความคุ้มครองขั้นพื้นฐาน 5 กรณีเลยทีเดียว 

  1. เงินทดแทนเมื่อเจ็บป่วย 300 บาท หากต้องหยุดงานเนื่องจากคำสั่งแพทย์ ตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป แต่ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล และมีใบรับรองแพทย์ จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้วันละ 200 บาท แต่หากหยุดไม่เกิน 2 วัน จะไม่ได้รับความคุ้มครอง 
  2. เงินทดแทนเมื่อทุพพลภาพ 500 – 1,000 บาท (ตลอดชีวิต) 
  3. เงินช่วยค่าทำศพ 50,000 บาท 
  4. เงินสงเคราะห์บุตร ตั้งแต่แรกเกิด – อายุ 6 ปีบริบูรณ์ คนละ 200 บาท / เดือน (ไม่เกิน 22 คน) 
  5. เงินบำเหน็จชราภาพ สำหรับผู้ที่จ่ายสมทบครบ 180 เดือน และจะได้รับเมื่ออายุครบ 60 ปี