คนไทยและพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่รู้กันดีว่า วันอาสาฬหบูชาคือวันสำคัญทางศาสนาพุทธ เพราะมีเหตุการณ์สำคัญ และหลักหัวใจพุทธศาสนาได้ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในวันนี้
วันอาสาฬหบุชา ออกเสียงว่าอย่างไรกันแน่?
คำว่า “อาสาฬหบูชา” สามารถอ่านได้ 2 แบบ คือ อา-สา-ละ-หะ-บู-ชา หรือ อา-สาน-หะ-บู-ชา และสำหรับวันอาสาฬหบูชาภาษาอังกฤษ คือ Asanha Bucha Day หรือ Asanha Puja Day
วันอาสาฬหบูชาตรงกับวันใด วันอาสาฬหบูชาขึ้นกี่ค่ำ?
วันอาสาฬหบูชา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี และถือเป็นวันหยุดราชการและธนาคาร
วันอาสาฬหบูชา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 มีความสำคัญอย่างไร
อาสาฬห หมายถึง เดือน 8 ทางจันทรคติ ดังนั้น อาสาฬหบูชา หรือ วันอาสาฬหบูชา จึงหมายถึง วันที่มีการบูชาในเดือน 8 เพื่อระลึกถึงวันอาสาฬหบูชาเหตุการณ์สำคัญ 3 ประการ ได้แก่
1.พระรัตนไตรครบองค์ 3 ประการ ซึ่งพร้อมไปด้วย พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
2.ประกาศศาสนาครั้งแรก โดยพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมโปรดปัญจวัคคี ด้วย “ธรรมจักกัปปวัตตนสูตร”
3.พระโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม หลังฟังพระปฐมเทศนาจากพระพุทธเจ้าจบ
กล่าวได้ว่าความสำคัญวันอาสาฬหบูชา คือ วันที่มีพระรัตนตรัยครบถ้วนเป็นครั้งแรกนั่นเอง
ประวัติวันอาสาฬหบูชา
หลังจากที่พระพุทธได้ตรัสรู้ 2 เดือน ได้ระลึกถึงปัจวัคคีย์ทั้ง 5 ได้แก่ พระโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และ พระอัสสชิ ที่เคยดูแลปรนนิบัติรับใช้พระองค์ก่อนจะได้ตรัสรู้ จึงเดินทางไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี ณ แคว้นมคธ และพระองค์ได้ทรงแสดงธรรมครั้งแรก เป็นปฐมเทศนา หรือ เทศน์กัณฑ์แรก คือ ธรรมจักกัปปวัตตนสูตร ที่มีเนื้อหาใจความสำคัญเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินชีวิต ด้วยหลัก อริยสัจ 4 และ อริยมรรค 8 โดยปฏิบัติอยู่บนเส้นทางสายกลาง เพื่อให้เข้าถึงการดับทุกข์ที่แท้จริง คือ นิพพาน ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา และเมื่อพระพุทธองค์ได้เทศนาจนจบ พระโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม สำเร็จเป็นพระโสดาบัน จึงขออุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าก็ได้ประทานอุปสมบทให้ด้วยวิธีที่เรียกว่า “เอหิภิกขุอุปสัมปทา” กล่าวได้ว่า พระโกณฑัญญะคือพระอริยสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา ต่อมา พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิ ก็ได้ดวงตาเห็นธรรม และได้อุปสมบทตามลำดับ ทำให้วันนี้ได้มีพระรัตนตรัยครบองค์สามบริบูรณ์ครั้งแรกในโลก ซึ่งได้แก่ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ และเหตุการณ์นี้ได้เกิดขึ้นก่อนพุทธศักราช 45 ปี
หลักธรรมสำคัญวันอาสาฬหบูชา
1.มัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลาง
เป็นหลักธรรมที่สอนให้ดำเนินชีวิตตามความเป็นจริงอย่างเป็นกลาง คือ ไม่สุดโต่งไปทางใดทางหนึ่งมากเกินไป ไม่ทำจนเบียดเบียนตนเอง หรือหละหลวมกับชีวิตเกินไป หลงงมงายกับอบายมุข
2.อริสัจ 4 คือ ความจริงอันประเสริฐ
หลักธรรมที่แสดงถึงความจริงของชีวิต 4 ประการ ได้แก่
- ทุกข์ : ความไม่สบายกายไม่สบายใจทั้งหลาย
- สมุทัย : เหตุแห่งความไม่สบายทั้งหลาย
- นิโรธ : การดับทุกข์
- มรรค : ข้อปฏิบัติแห่งการดับทุกข์ ได้แก่ อริยมรรค หรือ มรรคมีองค์ 8 ประการ ได้แก่
- สัมมาทิฏฐิ มีความเห็นชอบ คือ ทำความรู้ความเข้าใจให้ถูกต้อง ไม่หลงผิด มัวเมาทางชั่ว
- สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือ คิดสุจริต คิดแต่ในสิ่งที่ดีงาม
- สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือ กล่าวคำสุจริต ไม่มดเท็จ พูดคำปด ส่อเสียดให้ร้าย
- สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ คือ ทำการสุจริต กระทำแต่สิ่งที่ดี เป็นประโยชน์
- สัมมาอาชีวะ อาชีพชอบ คือ ดำรงอาชีพที่สุจริต ไม่เบียดเบียนชีวิตผู้อื่น
- สัมมาวายามะ พยายามชอบ คือ การละความชั่วทั้งปวง เพียรทำความดี
- สัมมาสติ ระลึกชอบ คือ พึงระลึกและมีจิตสำนึกที่ดี
- สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ คือ พึงคุมจิต ให้มีสติ ไม่ฟุ้งซ่าน
พิธีวันอาสาฬหบูชา จัดกิจกรรมและกำหนดเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ.2501 โดยพระธรรมโกศาจารย์ (ชอบ อนุจารี) ที่ดำรงตำแหน่งสังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การศึกษาในครั้งนั้น ได้เสนอคณะสังฆมนตรี เพิ่มวันอาสาฬหบูชา เป็นวันศาสนพิธีทางพุทธในประเทศไทย และเมื่อคณะสังฆมนตรีได้ลงมติและกำหนดให้วันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญทางศาสนา เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2501 และได้ประกาศให้มีกิจกรรมของวันอาสาฬหบูชาที่ทุกวัดจะต้องถือปฏิบัติทั่วกัน และสถานที่สำคัญทางราชการ และเอกชนบางแห่ง ก็ให้ความสำคัญและจัดกิจกรรมวันอาสาฬหบูชาเช่นกัน
การปฏิบัติตนในวันอาสาฬหบูชา และ กิจกรรมที่ควรปฏิบัติวันอาสาฬหบูชา มีอะไรบ้าง?
- บูชาพระรัตนตรัย ทางในทางอามิสบูชา และ ปฏิบัติบูชา
- ทำบุญ ตักบาตร ฟังธรรม รักษาอุโบสถศีล ดูแลบิดามารดา
- เวียนเทียนวันอาสาฬหบูชา
- ศึกษาหลักธรรม โดยเฉพาะ ธรรมจักกัปปวัตนสูตร ซึ่งเป็นหลักธรรมแรกในวันอาสาฬหบูชา
- ปฏิบัติกรรมฐาน สมถกรรมฐาน วัปัสสนากรรมฐาน